เวทีธรรมศาสตร์ ‘วันสัญญา ธรรมศักดิ์’ ถกนโยบายพรรคการเมือง

‘ธรรมศาสตร์’ จัดเสวนา ‘อ่านเกมเลือกตั้ง’ 66 นโยบายใครปัง ใครพัง’ วิทยากรเห็นพ้อง นโยบายพรรคการเมืองที่ใช้หาเสียงสร้างภาระงบประมาณชาติ หนีไม่พ้นต้องกู้เงินเพิ่ม กระทบการพัฒนาประเทศในระยะยาว

แม้มีกลไกควบคุมการโฆษณาหาเสียง แต่บทลงโทษเบา- กกต.มีข้อจำกัด ด้าน ‘ดร.สติธร’ มองเกมรอบนี้ คนตัดสินใจเลือกจาก ‘อุดมการณ์’ นำ ส่วน ‘นโยบาย’ เป็นปัจจัยลำดับสุดท้าย

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) โดยสถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย จัดเสวนาวิชาการเนื่องในวันสัญญา ธรรมศักดิ์ ประจำปี 2566 หัวข้อ “อ่านเกมเลือกตั้ง’ 66 นโยบายใครปัง ใครพัง” เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2566 ณ มธ. ศูนย์รังสิต โดยมีผู้เข้าร่วมงานจำนวนมาก

รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานกรรมการบริหารสภาบันปรีดี พนมยงค์ เปิดเผยว่า สถานการณ์การเลือกตั้งในช่วงนี้ ถูกวิจารณ์ว่าแข่งขันกันนำเสนอแต่ ‘นโยบายประชานิยม’ ถึงแม้ว่าการแข่งขันทางนโยบายจะเป็นเรื่องปกติและดีต่อประชาชน หากอยู่ภายใต้กฎหมายและหลักการที่ถูกต้อง คำนึงถึงเสถียรภาพของประเทศ แต่นโยบายที่มุ่งหวังผลการหาเสียงที่มากเกินไป จะสร้างปัญหาใหญ่หลวงตามมา โดยมีการประเมินว่าหากนำนโยบายที่แต่ละพรรคการเมืองหาเสียงไว้ขณะนี้มาปฏิบัติจริง จะต้องใช้งบประมาณเพิ่มกว่า 3 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นอย่างน้อยเท่าตัวจากงบประมาณประเทศที่ใช้อยู่

รศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวว่า ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่แต่ละพรรคการเมืองต้องชี้แจงว่าจะนำเงินจากไหนมาดำเนินนโยบาย ซึ่งแน่นอนว่าในทางหนึ่งคือการจัดเก็บภาษีเพิ่ม แต่หากไม่เก็บเพิ่ม รัฐบาลจะต้องทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้มากกว่า 10% ของจีดีพีขึ้นไป ซึ่งตัวเลขนี้เป็นไปไม่ได้ ดังนั้นจึงหนีไม่พ้นที่ประเทศจะต้องกู้เงินเพิ่ม และอาจจะส่งผลให้หนี้สาธารณะสูงเกินเพดานปัจจุบันที่ 70% โดยตัวเลขนี้ก็ถูกขยายเพิ่มมาแล้วจาก 60% ในช่วงโควิด ซึ่งหากหนี้สาธารณะของประเทศไทยสูงเกินกว่านี้ ย่อมสูญเสียความเชื่อมั่นจากนักลงทุนและกระทบกับเศรษฐกิจอย่างน่าเป็นห่วง

“จากฐานะทางการเงินการคลังของไทยในปัจจุบัน ขอฟันธงว่าเราไม่สามารถแบกรับนโยบายประชานิยมแบบแจกเงิน และการก่อหนี้ที่ไม่คุ้มค่าอีกต่อไป ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นจะไม่ได้ส่งผลภายใน 1-2 ปี แต่จะเป็นปัญหาในอนาคตที่รัฐบาลและคนรุ่นหลังต้องแบกรับภาระหนัก” รศ.ดร.อนุสรณ์ ระบุ

ขณะเดียวกัน ยังพบว่านโยบายของพรรคการเมืองส่วนใหญ่ กลับไม่ได้เข้าไปแก้ที่ต้นตอของปัญหา นั่นคือ ‘ความเหลื่อมล้ำ’ ซึ่งไทยมีปัญหารุนแรงติดอันดับโลก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องอาศัยนโยบายที่แตะปัญหาในเชิงโครงสร้าง ทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศมีความเป็นธรรมมากขึ้น ซึ่งอันที่จริงแล้วศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทยยังมีช่องว่างที่เติบโตได้เพิ่มขึ้นอีก 5-6% ต่อปี ด้วยการกระตุ้นให้เกิดการบริโภคและการลงทุนมากขึ้น โดยไม่มีปัญหาด้านเสถียรภาพ ซึ่งหากทำให้เติบโตเช่นนี้ได้อย่างน้อย 10-15 ปี ประเทศไทยจะมีโอกาสก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลางไปได้ แต่ก็กลับมีเพียงไม่กี่พรรคที่จะตั้งเป้าหมายเหล่านี้ไว้อย่างชัดเจน

รศ.ดร.อนุสรณ์ ยังระบุด้วยว่า ในส่วนนโยบายด้านอุตสาหกรรมใหม่ที่พูดถึงอย่าง New S-Curve สิ่งเหล่านี้อาจเป็นภาพฝันที่ทำได้แค่ในระดับความคิด เพราะความเป็นจริงแล้วเราไม่เคยลงทุนอย่างจริงจังกับทักษะแรงงาน งานวิจัย หรือนวัตกรรม ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดของประเทศหลังจากนี้จึงอาจไม่ใช่อุตสาหกรรมหรือเศรษฐกิจ แต่คือ ‘การกระจายอำนาจ’ อย่างแท้จริงเท่านั้น ที่จะทำให้ประเทศเกิดการเปลี่ยนแปลงถึงในระดับฐานรากได้

ดร.กิรติพงศ์ แนวมาลี หัวหน้าทีมการปฏิรูปกฎหมาย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า TDRI ได้ทำการศึกษานโยบายของ 9 พรรค รวม 87 นโยบาย ซึ่งเป็นข้อมูล ณ วันที่ 20 ก.พ. 2566 โดยพบว่าภาพรวมนโยบายครอบคลุมทั้งเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สุขภาพ ธุรกิจ SME ตลอดจนการปฏิรูปกฎหมายและระเบียบต่างๆ

เศรษฐศาสตร์ เวทีธรรมศาสตร์

อย่างไรก็ตาม พบว่าหลายนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็น ‘นโยบายระยะยาว’ กลับไม่ค่อยเห็นภาพความชัดเจนของงบประมาณเท่าใด โดยพบอีกว่าหากพรรคการเมืองมีการทำตามนโยบายที่หาเสียงจริงจะต้องใช้งบประมาณสูงถึง 3 ล้านล้านบาท ที่สุดแล้วรัฐบาลเลี่ยงไม่ได้ที่จะก่อหนี้สาธารณะเพิ่ม

ดร.กิรติพงศ์ กล่าวว่า ผลกระทบที่ตามมาจากการก่อหนี้สาธารณะเพิ่มคือ ประเทศไทยจะมีงบลงทุนน้อยลง เพราะต้องเอาเงินไปใช้หนี้ สุดท้ายก็จะกระทบต่อการพัฒนาขีดความสามารถในระยะยาว และอาจทำให้รัฐต้องหันไปใช้เงินนอกงบประมาณผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (มาตรการกึ่งการคลัง) ซึ่งเงินเหล่านี้จะไม่ต้องผ่านการพิจารณาของสภา และอาจเกิดเป็นคำถามถึงความโปร่งใส

ข่าวเศรษฐศาสตร์เพิ่มเติม>>>>โกลด์แมน แซคส์ หั่นคาดการณ์ ECB ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% พ.ค.นี้

โกลด์แมน แซคส์ หั่นคาดการณ์ ECB ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% พ.ค.นี้

โกลด์แมน แซคส์ ปรับลดคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในเดือนพ.ค.นี้ สู่ระดับ 0.25% จากเดิมที่ 0.50%

โกลด์แมน-แซคส์

หลังจากที่ ECB ปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ ท่ามกลางเสียงเรียกร้องให้คุมเข้มนโยบายทางการเงิน

ทีมนักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมน แซคส์ นำโดยนายสเวน ยารี สเตห์น กล่าวว่า “เราเชื่อว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้น แม้ว่าตลาดการเงินจะผันผวนก็ตาม เนื่องจากความเสี่ยงที่ปัญหาภาคการธนาคารจะลุกลามรุนแรงนั้นยังคงอยู่ในวงจำกัด และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงในอีกไม่กี่เดือนที่จะมาถึง”

โกลด์แมน แซคส์ ปรับลดคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ECB ว่าจะไปแตะระดับสูงสุดที่ 3.5% จากเดิมที่ 3.75% หลังจากที่ ECB ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% เมื่อวานนี้ (16 มี.ค.)

ทั้งนี้ มีเสียงตั้งคำถามว่า ECB จะยุติวงจรการขึ้นดอกเบี้ยเป็นการชั่วคราวหรือไม่ หลังเกิดสถานการณ์ความวุ่นวายในตลาดโลกที่เกิดจากการล่มสลายของธนาคารซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ (SVB) ตลอดจนความเคลือบแคลงเกี่ยวกับอนาคตของธนาคารเครดิต สวิส อย่างไรก็ดี โกลด์แมน แซคส์ คาดการณ์ว่า ECB จะยังคงดำเนินนโยบายทางการเงินอย่างเข้มงวดต่อไป

อัพเดทข่าว เพิ่มเติม : CEO คนใหม่ SCB แถลงวิสัยทัศน์ ทรานฟอร์มเป็น ‘ธนาคารดิจิทัล’ ลุยบริหารความมั่งคั่ง บริการไร้รอยต่อ

CEO คนใหม่ SCB แถลงวิสัยทัศน์ ทรานฟอร์มเป็น ‘ธนาคารดิจิทัล’ ลุยบริหารความมั่งคั่ง บริการไร้รอยต่อ

คุณกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ของธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)

แถลงวิสัยทัศน์ใหม่ “Digital Bank with Human Touch” ตั้งเป้า SCB สู่การเป็น Digital Bank (ธนาคารดิจิทัล) อย่างเต็มรูปแบบ ให้บริการลูกค้าไร้รอยต่อ
นอกจากนี้ ยังเตรียมลุยธุรกิจบริหารความมั่งคั่งเพื่อเป็นผู้นำตลาดนี้ให้ได้ในอนาคต พร้อมดึงกลุ่มคนชนชั้นกลางที่มีศักยภาพเข้ามาเป็นลูกค้าให้มากขึ้น

ข่าวเศรษฐศาสตร์แนะนำ

SCB กำไรโต บริการดิจิทัลและสินเชื่อ ติดท็อปประเทศ
ปี 2022 ที่ผ่านมา กำไรของ SCB เติบโตต่อเนื่อง 52% (YoY) จากการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ และเน้นไปที่การให้บริการผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยปีนี้ยังคงดันเป้าหมายนี้ให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น เพราะธนาคารจะก้าวไปสู่ Digital Bank อย่างเต็มตัว

จากจุดแข็งของ SCB อยู่ภายใต้ยานแม่ SCBX และถือเป็นหน่วยธุรกิจหลักที่มีความสำคัญมากของกลุ่ม และเป็น Universal Bank ที่ให้บริการลูกค้าอย่างครบวงจร ครองความเป็นผู้นำตลาดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น สินเชื่อที่อยู่อาศัยและธุรกิจ Bancassurance ซึ่งปัจจุบันครองอันดับ 1 ในประเทศ นอกจากนี้ ยังครองอันดับ 3 ในกลุ่มสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี สินเชื่อลูกค้ารายย่อย และทางด้านการบริหารความมั่งคั่ง

เช่นเดียวกับแอป SCB connect ก็ติดอันดับ 3 แอปธนาคารที่มีผู้ใช้มากที่สุดในประเทศไทย ผู้ใช้สามารถทำธุรกรรมต่างๆ และกู้สินเชื่อผ่านแอปได้อย่างสะดวกสบาย ซึ่ง SCB ตั้งใจจะพัฒนาให้เป็น Universal App ต่อไปในอนาคต

3 เรื่องหลัก วิสัยทัศน์ใหม่ Digital Bank – บริหารสินทรัพย์ – บริการไร้รอยต่อ
SCB มองว่า Market Trend ที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ มีทั้งหมด 3 เทรนด์ ได้แก่

1) SCB จะเป็น Digital Bank อย่างเต็มตัว แม้ปัจจุบัน บริษัทเทคโนโลยีจำนวนมากจะกระโดดเข้ามาเล่นในธุรกิจนี้กันมากขึ้น แต่ความได้เปรียบของ SCB เป็นบริษัทที่มีความมั่นคง มีประสบการณ์ยาวนาน เข้าใจตลาดเป็นอย่างดี และมีฐานการเงินที่แข็งแรง ดังนั้นลูกค้าสามารถมั่นใจในโปรดักส์ของ SCB ได้

2) SCB จะเป็นเจ้าตลาดทางด้านบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) โดยจะขยายบริการนี้ดูแลลูกค้าทุกกลุ่ม ซึ่งปัจจุบันพบว่าธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง ยังไม่มีใครเป็นเจ้าตลาดอย่างจริงจัง แต่ในอนาคตจะเติบโตอีกมาก ทำให้ SCB ตั้งเป้าที่จะก้าวไปสู่การเป็นเจ้าตลาดให้ได้

3) SCB จะให้บริการแบบไร้รอยต่อให้แก่ลูกค้า ในทุกช่องทาง (Omni-Channel) ตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่ม ไม่ใช่แค่บริการด้านดิจิทัล แต่จะให้บริการในรูปแบบสาขาของธนาคาร ที่มีพนักงานคอยดูแลอย่างใกล้ชิด

SCB มองเศรษฐกิจปีนี้โต เตรียมจับกลุ่มลูกค้าชนชั้นกลาง
ผู้บริหาร SCB มองว่า ปี 2566 นี้ เศรษฐกิจจะฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะเศรษฐกิจของอาเซียน จะเติบโตได้ราว 4-5% ส่วนเศรษฐกิจไทยปีนี้ จะขยายตัวราว 3% ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถานการณ์โควิด 19 ที่ดีขึ้น และมาตรการผ่อนตลายของจีนที่เริ่มเปิดประเทศแล้ว

ปัจจัยบวกด้านเศรษฐกิจ ช่วยเร่งการเติบโตในกลุ่มลูกค้าทั้งรายย่อยและลูกค้าธุรกิจ ธนาคารเห็นโอกาสที่ดีที่จะเข้าไปช่วยบริหารความมั่งคั่งให้แก่ลูกค้าทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าชนชั้นกลางที่มีศักยภาพ (Emerging Wealth) ลูกค้ากลุ่มนี้มีสัดส่วนมากขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จากชนชั้นกลางในอาเซียนที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มเป็น 65% ในอีก 10 ปีข้างหน้า คนกลุ่มนี้ถนัดการใช้เครื่องมือดิจิทัล และต้องการบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ครบวงจร นับว่าเป็นสัญญาณที่ดี และเป็นโอกาสของธนาคารที่จะกำหนดแนวทางธุรกิจให้สอดคล้องกับลูกค้ากลุ่มนี้ ผ่านการนำแพลตฟอร์มดิจิทัลเข้ามาใช้ ทั้งแนะนำบริการการลงทุน ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และทำธุรกรรมที่มีความสะดวกสบาย

ส่วนผลลัพธ์ในระยะยาวที่น่าจะได้เห็นต่อจากนี้ SCB ตั้งเป้าจะเป็นธนาคารหลักอันดับ 1 ของลูกค้าในประเทศไทย ดูแลสินทรัพย์มากที่สุด ครองส่วนแบ่ง Wealth Wallet Share อันดับ 1 ภายในปี 2025 ส่วนปี 2023 นี้ จะสร้างผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้น (ROE) มากกว่า 10% และจะลดค่าใช้จ่ายต่อรายได้จองบริษัท เพื่อคุมต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ที่ตั้งเป้าไว้อยู่ที่ประมาณ 40% ดันให้ธนาคารก้าวไปสู่การใช้ดิจิทัลให้เร็วขึ้น และหากปรับองค์กรให้เป็นดิจิทัลครบวงจรได้ตามแผน 5 ปีแล้ว ธนาคารจะลดอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ต่ำกว่า 40% พร้อมผลักดันสินเชื่อ Green Finance เพิ่มอีก 1 แสนล้านบาท ตามแผนด้านความยั่งยืน (ESS) ข่าวเศรษฐศาสตร์เพิ่มเติม>>> ยอดค้าปลีกช่วงเทศกาลในสหรัฐเพิ่ม 7.6% รับอานิสงส์แคมเปญลดแลกแจกแถม

ยอดค้าปลีกช่วงเทศกาลในสหรัฐเพิ่ม 7.6% รับอานิสงส์แคมเปญลดแลกแจกแถม

ยอดค้าปลีกช่วงเทศกาลในสหรัฐเพิ่ม 7.6% รับอานิสงส์แคมเปญลดแลกแจกแถม

บริษัทมาสเตอร์การ์ด อิงค์เปิดเผยรายงาน “Mastercard SpendingPulse” ล่าสุดระบุว่า ยอดค้าปลีกของสหรัฐในช่วงเทศกาลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. จนถึงวัน 24 ธ.ค.ปีนี้ ปรับตัวขึ้น 7.6% ซึ่งมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 7.1%โดยได้แรงหนุนจากการที่บริษัทค้าปลีกออกแคมเปญลดแลกแจกแถมเพื่อดึงดูดลูกค้า

อย่างไรก็ดี ยอดค้าปลีกในช่วงเวลาดังกล่าวชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเทศกาลวันที่ 1 พ.ย.-24 ธ.ค.ของปี 2564 ซึ่งมีการขยายตัว 8.5% เนื่องจากวิกฤตเงินเฟ้อสูง, อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น และความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยในปีนี้

เศรษฐศาสตร์

รายงานของมาสเตอร์การ์ดซึ่งมีการเผยแพร่ในวันจันทร์ (26 ธ.ค.) ยังระบุด้วยว่า บริษัทค้าปลีกในสหรัฐ ซึ่งรวมถึงแอมะซอน และวอลมาร์ท ต่างก็เสนอแคมเปญลดแลกแจกแถมครั้งใหญ่ในช่วงเทศกาลปีนี้ เพื่อระบายสินค้าในสต็อกที่มีจำนวนมากเกินไปนั้นให้กลับสู่ระดับปกติ ซึ่งแคมเปญดังกล่าวทำให้ความต้องการสินค้าทุกรายการเพิ่มขึ้นอย่างมาก ตั้งแต่ของเล่น เสื้อผ้า ไปจนถึงเครื่องไฟฟ้า

ส่วนยอดขายสินค้าทางออนไลน์ในระหว่างวันที่ 1 พ.ย.-24 ธ.ค.ปีนี้ เพิ่มขึ้น 10.6% ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วซึ่งมีการขยายตัว 11%