อาหารต้านภัยฝุ่น Detox ปอดคนเมือง ในวิกฤติ PM2.5

มลภาวะที่เป็นพิษและฝุ่นมากมายในบรรยากาศปัจจุบัน เช่น ฝุ่นละออง ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ เป็นสาร ก่อภูมิแพ้และโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด โรคปอด เป็นต้น และหากหายใจเอา มลภาวะเหล่านี้เข้าร่างกายสะสม ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้

จากข้อมูล อาหารต้านภัยฝุ่นPM2.5 ของ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย ระบุว่า การได้รับสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบของเซลล์และการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ซึ่งได้ จากอาหารที่เราบริโภคเข้าสู่ร่างกาย

อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงได้แก่ ผักผลไม้ 5 สี

สีแดง : มีสารไลโคปีน และบีทาเลนสูง ช่วยป้องการโรคมะเร็ง เช่น มะเขือเทศ แตงโม แก้วมังกรเนื้อ ชมพู เป็นต้น

สีน้้าเงิน/สีม่วง : มีแอนโทไซยานินสูง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ชะลอความเสื่อมของเซลล์ เช่น กะหล่้าม่วง มะเขือม่วง องุ่นม่วง ลูกพรุน ชมพู่มะเหมี่ยว เป็นต้น

สีเขียว : มีสารคลอโรฟิลล์ และลูทีน ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และป้องกันโรคมะเร็ง เช่น บร็อคโคลี่ ต้าลึง คะน้า ผักโขม ฝรั่ง องุ่นเขียว ชมพู่เขียว แอปเปิ้ลเขียว เป็นต้น

สีเหลือง/ส้ม : มีเบตาแคโรทีน ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน เช่น แครอท ฟักทอง มะละกอสุก สับปะรด มะม่วงสุก เป็นต้น

สีขาว/น้ำตาล : มีสารฟลาโวนอยด์ ต้านอนุมูลอิสละ ลดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ต้านการอักเสบ เช่น ผักกาดขาว เห็ด หัวไชเท้า ลูกเดือย กล้วย เนื้อมังคุด แก้วมังกรเนื้อขาว สาลี่ เป็นต้น

อาหาร อาหารต้านภัยฝุ่น

อาหาร Detox ปอด ของคนเมือง

ขณะเดียวกัน มลภาวะที่เป็นพิษและฝุ่นมากมายในบรรยากาศปัจจุบัน ส่งผลให้เราอาจได้รับสารพิษเข้าสู่ระบบทางเดิน หายใจอย่างไม่รู้ตัว ท้าให้เกิดภูมิแพ้และความเสี่ยงมะเร็งปอดได้

กลไกหนึ่งที่ส้าคัญคือการอักเสบเพราะเมื่อปอดได้รับสารแปลกปลอม เม็ดเลือดขาวชื่อ macrophage บริเวณ ปอดจะท้างานอย่างหนักท้าให้เกิดการอักเสบ อาหารที่ช่วยลดการอักเสบสามารถช่วย detox และลดสารพิษจากปอดได้ เช่น

  • ขมิ้นชัน สาร “curcumin” ในขมิ้นสามารถลดสารพิษหรือลดการอักเสบในปอดได้เป็นอย่างดี
  • ใบ oregano ที่ปกติเวลาสั่งพิซซ่าเรามักจะทิ้งซองเศษใบไม้แห้งๆ เครื่องเทศนั้นทิ้ง แต่จริงๆ แล้วเครื่องเทศนั้น มีสาร “ carvacrol “ เป็นสารช่วยลดการอักเสบและช่วย detox ระบบทางเดินหายใจได้เป็นอย่างดี บางคนอาจน้ามาชงกับน้้าอุ่นในรูปแบบชาดื่ม เพื่อ detox ระบบทางเดินหายใจได้

นอกจากสมุนไพรดังกล่าว ควรรับประทาน อาหารพวกผักผลไม้ที่มีสีส้มเหลือง เพราะสาร “carotenoid” เป็นสารสำคัญที่ช่วยในการป้องกันการเกิด การก่อกลายพันธุ์บริเวณปอดและเป็นสารส้าคัญที่ช่วยป้องกันมะเร็งปอดด้วย สารดังกล่าวหาได้จาก ฟักทอง แครอท มะม่วงน้้าดอกไม้สุก มะละกอสุก เป็นต้น

โดยการสลับการรับประทาน อาจทานฟักทองครึ่งถ้วย วันถัดมาแครอท 1 หัวขนาดกลาง วันถัดมา ทานมะม่วงสุกครึ่งผล เป็นต้น และที่ส้าคัญที่สุด คือ การทานบร็อคโคลีวันละ 200 กรัมขึ้นไป เพราะในบร็อคโคลีมี “sulforaphane” ที่ช่วยในการ ล้างพิษฝุ่น PM 2.5 ออกจากปอดของเราได้ ดังนั้น อย่าลืมเพิ่มบร็อคโคลีในอาหารเพื่อเพิ่มประโยชน์ต่อการปกป้องปอดเราจากฝุ่นสารพิษในปัจจุบันนี้

ดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจาก PM2.5

ทั้งนี้ การดูแลและป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจาก PM2.5 สำหรับประชาชนทั่วไป มีดังนี้

  • ติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศในแอป Air4Thai หรือข่าวสารตามช่องทางต่างๆ
  • สังเกตอาการ หากมีอาการไอ แน่นหน้าอก วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาการอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์ทันที
  • ลดกิจกรรมที่ก่อให้เกิด PM2.5 เช่น จุดธูป เผากระดาษเงินกระดาษทอง ปิ้งย่าง เผาใบไม้ เผาขยะ เป็นต้น
  • เมื่อ PM2.5 อยู่ในระดับ สีส้มหรือแดง งดทำกิจกรรมนอกบ้าน หากต้องออกจากบ้าน ควรสวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่น

อาหารเพิ่มเติม>>>>วิธีทำต้มเลือดหมู เกาเหลาเลือดหมู อร่อยกลมกล่อมจนต้องติดใจ

วิธีทำต้มเลือดหมู เกาเหลาเลือดหมู อร่อยกลมกล่อมจนต้องติดใจ

วิธีทำต้มเลือดหมู เกาเหลาเลือดหมู อร่อยกลมกล่อมจนต้องติดใจ

อาหาร

สำหรับเมนู ต้มเลือดหมู หรือ เกาเหลาเลือดหมู เป็นเมนูอาหารที่รับประทานกันแบบง่ายๆ เหมาะสำหรับเป็นอาหารมื้อเช้า และมื้อเย็น เป็นเมนูอาหารที่มีรสชาติอร่อยกลมกล่อมสามารถรับประทานกันได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ ก็สามารถรับประทานได้ สำหรับวิธีทำและการเตรียมวัตถุดิบต่างๆ จะมีดังนี้ค่ะ

ส่วนผสม

  • หัวไชเท้า 1 หัว นำมาปอกเปลือกแล้วล้างให้สะอาด จากนั้นนำไปหั่นเป็นชิ้นๆ พองามพักไว
  • กระดูกหมู 5 ขีด (สำหรับนำมาต้มน้ำซุบ) ล้างน้ำให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นๆ พองาม
  • เลือดหมู 1-2 ก้อน หั่นเป็นชิ้นๆ พองาม
  • ลูกชิ้นหมูอย่างดี 3 ขีด
  • ตับหมู 2 ขีด
  • หมูบด 2 ขีด
  • หมูเนื้อแดง 3 ขีด ล้างให้สะอาด แล้วนำมาหั่นเป็นชิ้นพอคำพักไว้
  • ตำลึงนำมาล้างน้ำให้สะอาดแล้วเด็ดเอายอดและใบอ่อนๆ ให้ได้ 1 ถ้วยตวง
  • ขึ้นฉ่าย 2 ต้น นำมาล้างน้ำให้สะอาดแล้วหั่นฝอยพักไว้
  • หัวกระเทียมไทย 3 กลีบ ปอกเปลือกล้างให้สะอาด แล้วโขลกหยาบๆ นำไปเจียวให้เหลืองพักไว้
  • น้ำมันหอย 1 ช้อนโต๊ะ
  • ซอสปรุงรส 1 ช้อนชา
  • ซีอิ้วขาว 2 ช้อนโต๊ะ
  • พริกไทยป่น 1 ช้อนชา
  • เกลือป่น 1 ช้อนชา

เครื่องปรุงรส

  • พริกชี้ฟ้าเขียวแดง 2 เม็ด ล้างให้สะอาดแล้วนำมาหั่นหยาบๆ
  • น้ำส้มสายชู 4 ช้อนโต๊ะ(ผสมพริกชี้ฟ้าทำพริกดอง)
  • น้ำตาลทราย
  • พริกป่น
  • น้ำปลาอย่างดี
  • พริกไทยป่น

ขั้นตอนการทำต้มเลือดหมู

  1. นำหมูบด น้ำมันหอย ซีอิ้วขาว ซอสปรุงรส และพริกไทยป่น มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วพักไว้
  2. นำเกลือป่นผสมกับน้ำสะอาดในภาชนะ แล้วนำกระดูกหมูมาแช่พักไว้ 30 นาที
  3. นำหม้อน้ำขึ้นตั้งบนเตาใช้ไฟปานกลาง พอน้ำเดือดจัดได้ที่แล้ว ให้นำลูกชิ้นหมูลงไปลวกประมาณ 2 นาที แล้วตักขึ้น
  4. จากนั้นนำเลือดหมูลงลวกต่อประมาณ 3 นาที แล้วตักขึ้นนำไปใส่ในน้ำเย็นประมาณ 1 นาที แล้วตักขึ้นพักไว้
  5. นำหม้อน้ำขึ้นตั้งบนเตาใช้ไฟปานกลางแล้วนำกระดูกหมูใส่ลงไปในหม้อ เพื่อต้มน้ำซุบขณะต้มให้คอยช้อนฟองทิ้ง
  6. พอน้ำในหม้อเดือดให้ใส่หัวไชเท้าลงไปต้มพอสุก ตามด้วยปั้นหมูบดเป็นก้อนเล็กกลมๆ ใส่ลงในหม้อน้ำซุบ
  7. จากนั้นนำเนื้อหมูที่หั่นเตรียมไว้ใส่ลงไปในหม้อต้มจนสุก เป็นอันเสร็จ

เวลารับประทานให้นำยอดตำลึง เลือดหมู และลูกชิ้นจัดใส่ชาม แล้วตักน้ำซุบที่ร้อนๆ ใส่ตามลงไป พร้อมด้วยหมูบดและเนื้อหมูโรยหน้าด้วยขึ้นฉ่ายและปรุงรสด้วยเครื่องปรุงที่เตรียมไว้ตามชอบ ยกเสิร์ฟทานกับข้าวสวยร้อนๆ กันได้เลย

เมนูต้มเลือดหมู ถ้าเราอยากให้ครบเครื่องกันจริงๆ ก็อาจจะเพิ่มส่วนผสมอย่างอื่นกันได้ เช่น เซ่งจี้ หรือหัวใจหมู เป็นต้น เมนูนี้อาจจะใช้วัตถุดิบหลายอย่าง แต่รับรองได้เลยว่านอกจากความอร่อยแล้วยังเป็นเมนูที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพกันอีกด้วย ใครที่รักสุขภาพอย่าลืมนำไปทดลองทำรับประทานกันนะคะ รับรองได้เลยว่าจะต้องอร่อยถูกใจคุณแน่นอนค่ะ

บทความแนะนำ : หมูย่างปลาร้ากับเชื้อก่อโรค

หมูย่างปลาร้ากับเชื้อก่อโรค

หมูย่างปลาร้ากับเชื้อก่อโรค อาหารว่างที่เริ่มนิยมในปัจจุบัน

หมูย่างปลาร้าหรือหมูปลาร้า อาหารว่างที่เริ่มนิยมในปัจจุบันเพราะรสชาติถูกปากคนไทย หาซื้อง่าย และสะดวกในการทาน โดยราดน้ำจิ้มที่มีส่วนผสมของปลาร้าหรือแจ่วบนหมูที่ย่างแล้ว มักทานพร้อมผักสดๆ และข้าวเหนียวเพื่อเพิ่มความอร่อยกลมกล่อม ทว่าท่านที่ชื่นชอบหมูย่างปลาร้าจิ้มแจ่ว อาจต้องระวังอันตรายจากเชื้อก่อโรคไว้สักนิด เช่น เชื้อซาลโมเนลลา เพราะแม้หมูย่างจะผ่านการให้ความร้อนจนสุกแล้ว

แต่หากพ่อค้าแม่ค้าไม่รักษาสุขลักษณะส่วนบุคคลให้ดีเพียงพอ หรือภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้ไม่สะอาดอาจทำให้เชื้อนี้ปนเปื้อนในหมูย่างได้ ที่สำคัญหากปลาร้าหรือน้ำปลาร้าที่ใช้เป็นส่วนผสมน้ำจิ้มแจ่วไม่ต้มให้สุกก่อนผสมก็อาจทำให้มีเชื้อชนิดนี้ปนเปื้อนได้ เชื้อ ซาลโมเนลลา มักพบปนเปื้อนในอาหารจำพวกเนื้อไก่ ไข่ นม ผลิตภัณฑ์นมที่ไม่ได้ผ่านความร้อนอย่างเพียงพอ อาหารสุกๆ ดิบๆ หากเราได้รับเชื้อนี้เข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ปวดศีรษะ ปวดท้อง มีไข้ หนาวสั่น และอ่อนเพลีย

อาหารวันนี้

หมูย่างปลาร้ากับเชื้อก่อโรคตามเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหารฉบับที่ 3 (พ.ศ.2560) ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำหนดให้อาหารพร้อมบริโภคทั่วไปต้องไม่พบเชื้อ ซาลโมเนลลา ใน 25 กรัม สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างหมูย่างปลาร้าจำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ร้าน ในตลาดเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์เชื้อ ซาลโมเนลลา ปนเปื้อน ผลปรากฏว่าหมูย่างปลาร้าทุกตัวอย่าง ไม่พบเชื้อ ซาลโมเนลลา ปนเปื้อนเลย.

อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่นี่ ⇒⇒⇒ กินไปหลอนไป หนุ่มเผยคลิปแกงของย่ามี “หัวปลา” โชว์ยิ้มฟันขาว

กินไปหลอนไป หนุ่มเผยคลิปแกงของย่ามี “หัวปลา” โชว์ยิ้มฟันขาว

ไวรัลฮิต หนุ่มเผยคลิปแกงปลาของย่า ในชามมีหัวปลาโชว์ยิ้มฟันขาว กินไปหลอนไป คนแห่ดูกว่า 2 ล้านครั้ง

มีรายงานว่า โลกออนไลน์ได้แชร์คลิปวิดีโอเรียกรอยยิ้มจากผู้ใช้ TikTok @porn_com1 ที่ระบุว่า ย่าแกงปลาอะไรมาให้กิน อย่างหลอน พร้อมกับเผยคลิปแกงปลาที่มีหัวปลาขนาดใหญ่อยู่ในชาม มองแล้วเหมือนปลากำลังโชว์ฟันขาวยิ้มให้

ทั้งนี้ได้มีคนให้ความสนใจเข้ามาดูจำนวนมากกว่า 2 ล้านครั้ง พร้อมกับมีคนเข้ามาสอบถามว่า ปลาในชามคือปลาอะไร ซึ่งทางเจ้าของคลิปได้ระบุว่า เป็นปลาหม้อแตก หรือ ปลากะพงดำ

แกงปลาของย่า